รถโบราณโฟล์คเต่า


ประวัติ รถโบราณโฟล์คเต่า

รถโบราณโฟล์คเต่า มีขึ้นเมื่อ 22 มิถุนายน 1934 เมื่อคณะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติเยอรมนี หรือ RDA-REICHSVERBAND DER DEUTSCHEN AUTOMOBILINDUSTRIE ได้มอบหมายให้ดร.เฟอร์ดินัน พอร์ชออกแบบรถยนต์ของประชาชน (PEOPLE’S CAR) ซึ่งในภาษาเยอรมันเรียกว่าVOLKSWAGEN นั่นเอง
โฟล์คเต่ารุ่นต้นแบบคันแรกเสร็จสิ้นการพัฒนาเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 1936 มาพร้อมระบบช่วงล่างแบบทอร์ชันบาร์ ระบบเบรกเป็นแบบกลไกก้านบังคับ ไม่ใช่ระบบไฮดรอลิกเหมือนรถยนต์ปัจจุบัน และที่เครื่องยนต์มีการติดตั้งยางแท่นเครื่อง ซี่งหลายคนมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดยางแท่นเครื่อง ตัวเครื่องยนต์เป็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ มีให้เลือกทั้งแบบ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ ที่มีกำลังสูงสุด 22.5 แรงม้า (HP)
ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 1936 รุ่นต้นแบบหรือ V3 (ซึ่งมีการผลิตออกมา 3 คัน) ถูกนำมาทดสอบด้วยการแล่นเป็นระยะทางกว่า 50,000 กิโลเมตร ก่อนมีการทดสอบต่อเนื่องภายใต้รหัสโครงการVVW30 และหลังจากนั้นไม่นานคณะกรรมการก็เห็นชอบในเรื่องเครื่องยนต์ หลังจากถกเถียงกันอยู่นานก็มาลงตัวที่บล็อก 4 สูบนอน หรือบ็อกเซอร์ ระบายความร้อนด้วยอากาศ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการพัฒนาจะมีขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่กว่าที่โฟล์คเต่า จะได้รับการผลิตเพื่อจำหน่ายสู่ตลาดต้องรอกันจนถึงเดือนธันวาคม 1945 หรือหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยในเดือนนั้นมีการผลิตออกมาเพียง 55 คันเท่านั้น
ในปี 1947 จึงมีการผลิตเวอร์ชั่นส่งออกในเดือนสิงหาคม โดยบริษัท PON BROTHERS กลายเป็นผู้แทนจำหน่ายของโฟล์คสวาเกนในเนเธอร์แลนด์และนำเข้าโฟล์คเต่าจำนวน 56 คัน เข้าไปทำตลาด จากนั้นอีก 1 ปี จึงเริ่มขยายตัวออกสู่ตลาดประเทศอื่น เช่น เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ลักเซมเบิร์ม สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 8 มกราคม 1949
รุ่นเปิดประทุนของโฟล์คเต่าคลาสสิคมีขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 1949 โดยคาร์มานน์เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะในตลาดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกา
ความจริงแล้วโครงการผลิตรุ่นเปิดประทุนของโฟล์คเต่ามีมาตั้งแต่ปี 1948 ในยุคที่มีไฮน์ริช นอร์ดฮอฟฟ์เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงงานโฟล์คสวาเกน ซึ่งเขาเป็นผู้ปรับปรุงระบบการผลิต และเป็นคนที่เอ่ยประโยคอมตะ“THE BEETLE HAS AS MANY FAULT AS A DOG HAS FLEAS” ที่แสดงให้เห็นถึงรอยรั่วของระบบการผลิต ซึ่งมีมากเหมือนกับหมัด-เห็บบนตัวสุนัข
นอร์ดฮอฟฟ์ใช้เวลานานในการคิดหาทางออกเพื่อกระตุ้นให้ยอดจำหน่ายของโฟล์คเต่ามีมากขึ้นและในปี 1948เขาได้ว่าจ้าง JOSEPH HEBMULLER COMPANYผลิตรุ่นต้นแบบของโฟล์คเต่าเปิดประทุนออกมา 3 คัน โดยมีข้อบังคับว่าจะต้องใช้ชิ้นส่วนของรุ่นแฮทช์แบ็ก (หรือในเอกสารของโฟล์คสวาเกนเรียกว่า SEDAN) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
JOSEPH HEBMELLER ได้รับโอกาสในการผลิตโฟล์คเต่าเปิดประทุนในเวอร์ชั่นหรูพร้อมกับตกแต่งรายละเอียดภายในอย่างสุดบรรเจิด ซึ่งสวนกับหลักการพื้นฐานของตัวรถ ขณะที่คาร์มานได้รับงานผลิตแบบยกล็อตสำหรับคนทั่วไป ผลที่ได้คือตลอด 4 ปี ที่ทำตลาด เวอร์ชั่นเปิดประทุนของJOSEPH HEBMULLER ผลิตขายได้เพียง 696 คัน เท่านั้น
โฟล์คเต่ากลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ รถขายดีเหมือนแจกฟรี ในปี 1950 ทำยอดผลิตครบ 100,000คัน และเพิ่มเป็น 250,000 คัน ในปี 1951 ซึ่งเป็นตัวเลขของยอดการผลิตพุ่งพรวดสวนทางกับวัตถุดิบที่มีอยู่ในตลาด จนทำให้ต้องหยุดการผลิต และลดชั่วโมงทำงานลงชั่วคราว แต่ถึงกระนั้นในปี 1952ยอดผลิตต่อปีของโฟล์คเต่าก็เกิน 100,000 คันเป็นครั้งแรก และในปี 1953 ก็ฉลองครบ 5 แสน คัน โดยที่ในช่วงเวลานั้น โฟล์คเต่าครองส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์นั่งของเยอรมันตะวันตกใน(ตอนนั้น) ถึง42.5%
ในปี 1955 ตัวเลขการผลิตครบ 1ล้านคัน และในปี 1967 ฉลองการผลิตครบ 10 ล้านคัน โดยมีโรงงานผลิตทั้งหมด 5 แห่งในเยอรมนี คือ เมืองฮันโนเวอร์ คาสเซล บรันสวิค เอมเดน และล่าสุดคือโวล์ฟบวร์ก

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1972 เป็นวันที่ปวงชนชาวโฟล์คสวาเกนไม่มีวันลืม เพราะยอดการผลิตของโฟล์คเต่าอยู่ที่ 15,007,034 คัน ซึ่งเท่ากับว่าสามารถแซงหน้า สถิติเดิมของ ฟอร์ด โมเดล ทีได้สำเร็จ ทำให้โฟล์คเต่ากลายเป็นรถยนต์ที่มียอดผลิตสูงสุดในโลก (ก่อนที่จะโดนรุ่นกอล์ฟแซงในปี 2002)
จุดสิ้นสุดแห่งยุคโฟล์คเต่าสำหรับตลาดยุโรปเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 เมื่อโฟล์คสวาเกนเปิดตัวรถยนต์รุ่นกอล์ฟออกมา ซึ่งทำให้ลูกค้าในยุโรปเริ่มหันไปสนใจกับผู้มาใหม่รุ่นนี้กันมากขึ้น จนทำให้โฟล์คสวาเกนตัดสินใจยุติการผลิตของโรงงานโวล์ฟบวร์ก ในปี 1974และเอมเดนในปี 1978 โดยโฟล์คเต่าคันสุดท้ายที่ผลิตในเอมเดนเมื่อวันที่ 19 มกราคม ถูกส่งเข้าไปเก็บในพิพิธภัณฑ์เมืองโวล์ฟบวร์ก
ส่วนรุ่นเปิดประทุนคันสุดท้ายออกจากสายการผลิตของโรงงานคาร์มานน์ในออสนาบรักเมื่อวันที่ 10 มกราคม 1979 รวมแล้วรุ่นเปิดประทุนถูกผลิตออกสู่ตลาด 330,281 คัน
แม้ว่าในยุโรปจะเลิก แต่โรงงานในเม็กซิโกที่เริ่มเดินเครื่องมาตั้งแต่ปี 1965 ก็ยังทำหน้าที่ผลิตต่อไปและวันที่ 15 พฤษภาคม 1981 ฉลองการผลิตครบ 20 ล้านคันที่โรงงานแห่งนี้
อย่างไรก็ตามในวันที่ 31 กรกฎาคม 2003 ถือเป็นอีกวันที่บีทเทิลมาเนียต้องจดจำเพราะว่าจะเป็นวันสุดท้ายของการผลิตโฟล์คเต่าที่โรงงานในเมือง PUEBLA เม็กซิโก ซึ่งเป็นโรงงานแห่งเดียวที่ยังผลิตอยู่
แต่ก่อนที่จะจากกันโฟล์คสวาเกนก็ผลิตเวอร์ชันพิเศษออกมาเรียกเงินในกระเป๋าลูกค้าด้วยเวอร์ชันULTIMA EDICION กับสีตัวถัง 2 แบบ คือ เบจและฟ้า ด้วยจำนวนการผลิตจำกัดเพียง 3,000คัน เท่านั้น

รถโบราณโฟล์คเต่า

วิธีดูรุ่นเต่า

Beetle ปี 1949

รถรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่มีระบบมอเตอร์สตาร์ แต่เดิมใช้วิธี มือหมุน แบบรถโบราณ และเพิ่มสายดึงสำหรับ เปิดกระโปรงหน้า แทนการไปกดปุ่ม ที่หน้ากระโปรงอย่างเดียว กระจกด้านหลังจะเป็นแบบ 2 จอ

Beetle ปี 1950

รุ่นนี้รูปทรงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม ส่วนที่เพิ่มคือเปลี่ยน ระบบเบรค จากใช้สายเคเบิ้ลดึงเอามาเป็นระบบไฮโดรอลิค และ ในห้องโดยสารเพิ่ม ช่องเขี่ยบุหรี่ บริเวณแผงหน้าปัด แล้วที่ท่อไอดีของเครื่องยนต์ จะมีระบบหล่อให้อุ่น จากท่อไอร้อน ซึ่งเหมาะสำหรับเมืองหนาว

Beetle ปี 1951

เพิ่มตราโล่ปราสาทแดง สัญญลักษณ์ที่บริเวณกระโปรงหน้า

Beetle ปี 1952

- กะทะล้อจากขอบ 16 นิ้ว มาเป็น 15 นิ้ว
- กระจกด้านข้าง ด้านประตูหน้าทั้งสอง มีกระจกหูช้าง 3 เหลี่ยม ระบายลม
- ที่เปิดตรงกระโปรงท้าย เปลี่ยนเป็น รูปตัว T
- ช่องเก็บของบนแผงหน้าปัด มีฝาปิด (แต่เดิม เปิดโล่ง)

Beetle ปี 1953

กระจกบังลมหลัง
 เปลี่ยนจาก 2 จอ เป็น จอเดียว แต่ยังแคบเหมือนเดิม จึงเรียกกันว่า รุ่น จอแคบ


Beetle ปี 1954

เครื่อง จาก 1,100 cc. เพิ่มเป็น 1,200 cc.
แรงม้า จาก 35 แรงม้า มาเป็น 36 แรงม้า
รวม กุญแจสตาร์ท กับ กุญแจสวิสท์ ให้มาอยู่เป็นที่เป็นทางตัวเดียวกัน

Beetle ปี 1955
เปลี่ยนไฟเลี้ยวแบบแขนยก รุ่นติดข้างตัวรถ มาเป็น ดวงโคมเล็กๆ อยู่หน้ารถ แต่ติดตั้งไว้ต่ำใกล้กับขอบบังโคลน ล้อหน้าของรถ


Beetle ปี 1956
เพิ่มท่อไอเสียโครเมี่ยมคู่ แล้วเบาะนั่งปรับเปลี่ยนให้สะดวกขึ้น


Beetle ปี 1957

ไฟเลี้ยวเคยติดอยู่ต่ำ กระโดดขึ้นมาบนบังโคลนล้อหน้า แบบที่เห็นในปัจจุบันทำให้มองเห็นง่าย


Beetle ปี 1958

ระบบคลัชท์ปรับปรุงให้ดีขึ้น
ระบบเบรคทำดุมเบรคให้กว้างมากขึ้น


Beetle ปี 1959
เครื่องยนต์ออกแบบให้มีความคงทนมากยิ่งขึ้น โดย 100,000 กม. ไม่ต้องยกเครื่อง


Beetle ปี 1960

พวงมาลัย
 ทำเป็นเบ้าลึกเข้า เพื่อการจับจะได้ถนัดมากขึ้น
ที่เปิดประตู ทำเป็นปุ่มกดเปิด
ช่วงล่าง ติดเหล็กกันโคลงล้อหน้า เพื่อให้เกาะถนนดียิ่งขึ้น
ระบบบังคับเลี้ยว ตรงพวงมาลัย เพิ่มโช้คอัพ (Steering Damper) กันพวงมาลัยสั่น
ไดนาโม จาก 160 Watts เป็น 180 Watts
รุ่นสุดท้ายสำหรับเครื่องยนต์ 36 แรงม้า


Beetle ปี 1961
เครื่องยนต์เปลี่ยนจาก 36 แรงม้า มาเป็น 40 แรงม้า วิธีสังเกตเครื่องยนต์รุ่นใหม่ จะสังเกตได้ตรงแท่นรองไดนาโมชารท์ จะเป็นคนละชิ้นกับตัวเครื่อง ยึดด้วยน๊อต 4 ตัว แต่รุ่นก่อนจะเป็นตัวชิ้นเดียวกับตัวเครื่อง แต่การผลิตเครื่องยนต์รุ่นนี้ คงเป็นการเริ่มต้นมีข้อบกพร่องให้จุกจิก กวนใจมาก เช่น เรื่องวาล์ว ห้องเกียร์ไม่คงทน แต่สิ่งที่เพิ่ม ก็ คือ ปุ่มฉีดน้ำล้างกระจก เนื้อทีใส่ของกว้างมากขึ้น ระบบกุญแจสตาร์ท มีระบบล๊อคกันสตาร์ทซ้ำ แต่รวมๆ แล้วรวนมาก หากจะใช้รุ่นนี้ อาจต้องเปลี่ยนเครื่อง เปลี่ยนเกียร์ใหม่


Beetle ปี 1962
มีการแก้ไขข้อบกพร่องไปบ้าง แต่ก็ยังไม่หมดทันทีในครั้งแรก โดยเฉพาะห้องเกียร์ซิโครเมท มาแก้ตกเอาตั้งแต่หมายเลข Classis 4 500 000 จะเล่นรุ่นนี้ก็ดูหมายเลขกันให้ดี ยกเว้นเจ้าของเดิมเปลี่ยนหมดแล้ว สิ่งที่มีใหม่ในรุ่นนี้ ระบบฉีดน้ำแบบอัดลม โดยใช้ลมจากยางอะไหล่ที่วางไว้ตรงกระโปรงหน้า ระบบเฟืองเกียร์พวงมาลัยเปลี่ยนเป็นแบบ Worm and Roller ฝากระโปรงหน้าเสริมสปริง มีเกย์วัดน้ำมัน มาแทน ระบบ ถังน้ำมันอะไหล่


Beetle ปี 1963
มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุหุ้มเบาะตอนกลางปี เป็นแบบใหม่ ทำความสะอาดง่าย กระจกหน้าตาทำได้ดี โดยรางกระจกมีไนรอนมารองรับ มีระบบไออุ่น มาจากห้องเครื่องยนต์ ตรงพัดลมต่อท่อมาหล่อห้องโดยสาร แก้ความหนาว พื้นรถมีการบุด้วยกระดาษน้ำมัน ทำให้เสียงภายในห้องโดยสารเงียบขึ้น


Beetle ปี 1964
แตรพวงมาลัย จากรูปครึ่งวงกลม มาเป็น ก้านตรง เปลี่ยนวัสดุหุ้มเบาะใหม่ ดีขึ้น สำหรับรุ่นหลังคาเปิดแบบผ้าใบ ก็ เปลี่ยนเป็นหลาคาเปิดแบบเหล็ก ไฟส่องป้ายทะเบียนหลังเปลี่ยน จาก ทรงจมูกคน เป็นแบบรีๆกว้างๆขึ้น


Beetle ปี 1965
รถตั้งแต่รุ่นนี้มีการเปลี่ยนเแปลงระบบเลข Classis ใหม่ ทำให้ดูรง่าย โดยดูจาก 3 ตัวหน้าของเลข Classis เลข 2 ตัวหน้า 11 หมายถึง รถเต่า 12 หมายถึง รถโฟลคตู้ 13 หมายถึง รถรุ่น 1500 แบบท้ายลาด ตรวจการ หรือ เต่า Super Star เลขหลักที่3 ของ 3 ตัวหน้า หมายถึงปี เช่น 115 ก็รถเต่า ปี 1965 6 ก็ 1966 7 ก็ 1967 ยัน รุ่นสุดท้าย กระจกบังลมหน้าปรับเปลี่ยนให้กว้างขึ้น ที่ปัดน้ำฝน เป็นแบบมีสปริงโค้งให้ยืดหยุ่น ปัดได้ดีกว่าเก่า ทีบังแดด ทำให้ดียิ่งขึ้นสะดวกต่อการใช้งาน ทีเปิดปิด กระโปรงหลังเป็นแบบกดปุ่ม แทนการหมุน


Beetle ปี 1966
เป็นปีแรกที่เครื่องยนต์ 1300 ซีซี มาคู่กับ 1200 ซีซี เดิม ทำให้รุ่น 1300 ซีซี มีแรงม้า เป็น 50 โดยรุ่นนี้ ช่วงชักของกระบอกสูบจะยาวกว่า เครื่องยนต์ 1200 แล้วก็ตรงลูกสูบติด ชาฟ ที่ราวลิ้น เพิ่มรุ่นนี้สามารถโมดิฟราย จาก 1300 มาเป็น 1500 หรือ 1600 ซีซี สบายมาก แค่เปลี่ยน ลูกสูบ เสื้อสูบ และไปกว้านฝาสูบ (ข้อดี ของเครื่องยนต์รถโฟลค ก็คือ ทุกครั้งที่มีการยกเครื่อง จะได้เครื่องกลับมาเป็น Standard เพราะมันเปลี่ยนทั้งเสื้อ สูบ กระบอกสูบ แหวน โดยยกขายเป็นชุด เหมือนได้ เครื่องใหม่จากห้าง ตอนออกรถใหม่ๆ แล้วราคาไม่แพง นอกจากนั้น รุ่นนี้ได้ย้ายตัว Regulator จากในห้องเครื่อง มาไว้ใต้เบาะ แถมเปลี่ยนจากระบบธรรมดามาเป็นระบบควบคุมด้วย Transistor เพิ่มไฟ Hazan แล้วก็ ปุ่มกดเปลี่ยนไฟ สูงไฟต่ำ จากเป็นปุ่มอยู่ที่พื้นด้วยเท้ามาเป็ มาอยู่ที่ก้านโยกตรงพวงมาลัย สวิสท์แตรตรงพวงมาลัย กลับไปใช้แบบของเดิม รูปครึ่งวงกลม


Beetle ปี 1967
ปีนี้เป็นการปฏิวัติระบบไฟฟ้า ใหม่ โดยเปลี่ยนจากระบบไฟฟ้า แบบ 6 โวลท์ มาเป็นระบบ 12โวลท์ ทำให้ ไฟสว่างมากยิ่งขึ้น การสตาร์ท ทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งแต่เดิมเคยสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้า ให้กับผู้ใช้ โฟค ก็ คือหาแตตารี่ ขนาด6 โวลท์ แอมป์สูงๆยาก ทำให้ รถรุ่นเก่าๆ ก็ไปปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าตามกันยกใหญ๋ สิ่งที่แต่ต่าง ในระบบ ไฟฟ้า 6 กับ 12 ก็คือ Fly Wheel รุ่น 6โวลท์ 109 ซี่ แต่ 12 โวลท์ 130 ซี่ ในขณะเดียวกันก็ออก เครื่องรุ่น 1500 ซีซี ขนาด 53 แรงม้ามาให้ เลือกอีกแบบ หนึ่ง แล้วก็ เปลี่ยนแปลง ระบบช่วงล่าง ของล้อหลัง ทำให้ออ่อนลงหน่อย เพื่อความนุ่มนวล แล้ว ติด คานรูปตัว Z เข้าไปทำให้รับน้ำหนักได้มากขึ้น


Beetle ปี 1968
เป็นปีแรก ที่โฟลคออก รุ่นเกียร์ออโต้เมติก มาให้เลือกอีกแบบ หนึ่ง แล้วก็ออก รุ่นประหยัด 1200 ซีซี มาให้เลือกด้วย นัย ว่าเพื่อสนองนโยบาย ลดค่าครองชีพ โดยรุ่นนี้ ตัดเอา คิ้วโคเมียม ออก ในขณะเดียวกัน รุ่น 1300 และ 1500 ยังเหมือนเดิม เฉพาะ1500 เท่านั้นที่มีระบเกียร์ออโต้ฯ กันชน รุ่นนี้เปลี่ยนใหม่ จากที่กลมโค้งมน มี2ชั้นแบบรุ่นก่อน ก็ เป็น แบบ แผ่นเหล็ก ท่อนเดียว ช่องเติมน้ำมัน ย้ายออกมาอยู่ด้าน นอก ทางขวามือ ของตัวรถ ทำให้ ไม่ต้องเปิดประโปรงหน้า เวลาเติมน้ำมัน แบบรุ่นๆก่อน มือจับเปิดประตู เปลี่ยนเป็นแบบกลไก แทนแบบกดปุ่ม มีอหมุนภายในมี พลาสติกหุ้ม


Beetle ปี 1969
ปรับปรุง เพลาหลัง จากระบบ Swing Axles (คือเพลาแบบแกว่งขึ้นลงได้) มาเป็น Double Joint Axles ทำให้ ล้อตั้งตรง กับแนวพื้น ไม่หุบ เหมือนรุ่นก่อน เมื่อยกล้อขึ้น ช่องเติมน้ำมัน มีระบบล๊อค โดยดึงห่วง จากแผงใต้หน้าปัดท์ แล้วก็ กลไกเปิดกระโปรงหน้าเปลี่ยนจาก แบบ ปุ่มดึงเป็นคันโยค ซ่อนอยู่ในช่องเก็บของ และช่องเก็บของมีระบบกุญแจ ล๊อค


Beetle ปี 1970
จุดเด่นของรุ่นนี้ก็ คือ ตรงกระโปรงปิดเครื่องยนต์หลัง ได้เจาะรูเป็นซี่ แบบครีบระบายอากาศ ทำให้ ผู้ใช้หวั่นว่า เวลาเจอฝนในเมืองไทย จะทำให้จานจ่ายชื้น มีปัญหาเวลาจอดตากฝน เพราะว่าเวลาเครื่องติด ฝนทำอะไรไม่ได้ แรงลมจากพัดลมระบายความร้อน พัดออกหมดแล้วก็ปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ จาก 1500 ซีซี เป็น 1600 ซีซี ทำให้ได้แรงม้า ถึง 57 แรงม้า ไฟเลี้ยวหน้ารถ และท้ายรถขยายให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมอีกนิด


Beetle ปี 1971
ผลิตโฟล์คออกมา 2 แบบ คือ 1302 กับ 1302 S คือ เครื่อง 1300 และ 1600 ซีซี แต่ตรงที่ 1600 ซีซี ได้แรงม้าเพิ่ม เป็น 60 แรงม้า แล้วตรงตัวเก๋งด้านท้ายใกล้หน้าต่าง จะเจาช่องระบายอากาศ รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว สำหรับผู้โยสาร ด้านหลัง ระบบกันสะเทือนหน้าเปลี่ยนจากระบบคานบิดอันลือเลื่องมานาน มาเป็นแบบคอลย์สปริง Mcperson Strut ทำให้หน้ารถโล่งยิ่งขึ้น ขยับถังน้ำมันให้อยู่ลึกเข้าไป ทำให้รูปทรงตัวรถอูมขึ้น เหมือนคนอ้วน เมื่อเปลี่ยนระบนี้ทำให้ วงเลี้ยว แคบเข้า


Beetle ปี 1972
17 กุมภาพันธ์ 1972 สามารถผลิตและฉลองการผลิตที่ 15,007,034 Beetle และได้เปิดตัว รุ่น 1303 แบบ Super Beetle ลักษณะของรุ่นนี้ คล้ายกับ 1302 แต่ทรงจะมนและโค้งมากกว่า และความกว้างของมิติด้านข้าง จะมากกว่า


Beetle ปี 1974
้ประกาศจะหยุดการผลิตรถรุ่น Beetle ในเยอรมัน ถึงแม้ว่าการผลิตของรถ Beetle ในต่างประเทศที่ Hanover, Emden และ Brussels สำหรับการขายแถบ Europe จะดำเนินต่อไป


Beetle ปี 1975
โรงงานในเยอรมันทำการจบการผลิตสำหรับ Beetle และสิ่งที่ทดแทนรถรุ่นนี้ ต่อไปจะเรียก 1303 convertible เข้ามาทดแทน


Beetle ปี 1978
ขยายฐานการผลิตใหม่ สำหรับ รถ Beetle ไปดำเนินต่อไปที่ โรงงานใน Mexico และ Brazil รถเหล่านี้ บางคันยังถูกส่งกลับมาขายที่ Germany ในรถปีนี้ มีการเปลี่ยนแปลง โดยเพิ่มระบบทำความร้อน ในห้องโดยสารเป็นแบบ rear heater outlets ไฟหน้าเป็นแบบ halogen headlights 1986 ที่เพิ่มระบบปัดน้ำฝนมี intermittent wipers

Beetle ปี 1988
ระบบการควบคุมการจุดระเบิด จากหน้าทองขาวธรรมดาเป็นแบบมี ระบบ Electronics Ignition .เข้ามาแทน


Beetle ปี 1990
เพิ่มมาตรฐาน alarm ลงไปในระบบเตือนของเครื่องยนต์ หากมีอะไรผิดปกติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น